วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำประพันธ์ประเภทกลอน


กลอน คืออะไร

กลอนคือลักษณะคำประพันธ์ ที่มีการเรียบเรียงเข้าเป็นคณะมีการสัมผัสกัน ตามลักษณะบัญญัติ เป็นประเภท ๆ ไป แต่จะไม่มีการบังคับในเรื่องของเอกโท และครุลหุ โดยกลอนของไทยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

กลอนสุภาพ

เป็นกลอนที่การใช้ถ้อยคำ และการเรียบเรียงทำนองเรียบๆแบ่งย่อยออกเป็นอีก ๔ ชนิด ได้แก่   กลอน๖      กลอน๗ กลอน๘  กลอน๙ โดยที่กลอนสุภาพ นั้นนับว่าเป็นกลอนหลัก ของกลอนทุกชนิด โดยถ้าใครมีความเข้าใจในกลอนสุภาพได้อย่างดี ก็จะสามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่าย เพราะกลอนอื่นๆ ที่มีการเรียกชื่อที่ต่างออกไปล้วนแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบ วิธีจากกลอนสุภาพ แทบทั้งสิ้น

กลอนลำนำ

เป็นกลอนที่มักใช้ขับร้อง หรือใช้สวด โดยมีการแบ่งทำนองออกเป็น ๕ รูปแบบคือ  ๑. กลอนบทละคร ๒. กลอนสักวา ๓. กลอนเสภา ๔. กลอนดอกสร้อย     ๕. กลอนขับร้อง
         

กลอนตลาด

เป็นกลอนผสม หรือกลอนคละ โดยจะไม่มีการกำหนดคำตายตัว
เช่นกลอนสุภาพ ในแต่ละบทกลอน อาจจะมีวรรค ๗ คำบ้าง ๘ คำบ้าง ๙ คำบ้างหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการเอากลอนสุภาพ หลายชนิดนั่นนำเข้ามาผสมกันนั่นเอง โดยกลอนประเภทนี้เป็นกลอนที่ใช้ในการขับร้องแก้กัน จึงมักเรียกกันว่า กลอนตลาดโดยยังมีการแบ่งออกเป็นอีก ๔ ชนิด คือ  ๑. กลอนเพลงยาว  ๒. กลอนนิราศ  ๓. กลอนนิยาย  ๔. กลอนเพลงปฏิพากย์ แผนผังกลอนสุภาพจำนวน ๑ บท เมื่อแต่งมากกว่า ๑ บท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท สังเกตสัมผัสระหว่างบทจากคำประพันธ์นี้
          

ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ควรจำ

                                        กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด                 กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร
                              วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร                อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ
                              ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส                     สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน
                             เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ                   เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันท์นี้เอย


                                                                                  ตัวอย่างแผนผังกลอนสุภาพ
                                                                                         แผนผังกลอนสุภาพจำนวน 1 บท

                                                                                                                         แผนผังกลอนสุภาพ

                                         เมื่อแต่งมากกว่า 1 บท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท สังเกตสัมผัสระหว่างบทจากแผนผังด้านล่าง
                                                                                                            แผนผังกลอนสุภาพ2   


ความไพเราะของกลอนสุภาพ


         คณะของกลอนสุภาพ   หนึ่งบทมี ๔ วรรค วรรคละ ๘- ๙ พยางค์ ๘ พยางค์ไพเราะที่สุดสัมผัสบังคับของ   กลอนสุภาพเป็นสัมผัสสระตามแผนผัง
         สัมผัสระหว่างวรรค   พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๒ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒  สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓  และสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๔ 
         สัมผัสระหว่างบท  พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้าย  ของวรรคที่ ๒ของบทถัดไป
         สัมผัสใน  กลอนสุภาพจะมีความไพเราะยิ่งขึ้นไปนอกเหนือจากการสัมผัสตามสัมผัสบังคับแล้ว ยังต้องมีสัมผัสในที่เป็นสัมผัสสระและสัมผัสอักษรอีกด้วย
         สัมผัสสระ และสัมผัสอักษรเป็นอย่างไร นอกจากสัมผัสในแล้ว เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค แต่ละวรรคก็มีความเช่นเดียวกัน ลองสังเกตเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค
           
                                     หลีกสามัญ  ท้ายวรรคหนึ่ง   พึงจำจด          สามัญตรี  นั้นงด  ท้ายวรรคสอง
                             วรรคสามสี่   ตรีสามัญ  นั้นครบครอง                    เสียงวรรณยุกต์  ตามทำนอง  ของโบราณ
                            
         พยางค์ท้ายวรรคที่ ๒  นิยมเสียงจัตวา เอก และโท พยางค์ท้ายวรรค ๓ และ ๔ นิยมเสียงสามัญ และตรี ไม่นิยมเสียง จัตวา เอก 

          กลอน คือลักษณะคำประพันธ์ ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกัน ตามลักษณะบัญญัติ เป็นชนิดๆ แต่ไม่มีบังคับ เอกโท และครุลหุ 
กลอนแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ กลอนสุภาพ กลอนลำนำ และกลอนตลาด
กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
       ๑. กลอน ๖ 
       ๒. กลอน ๗
       ๓. กลอน ๘ 
       ๔. กลอน ๙

    กลอนสุภาพ นับว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ
เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่าย กลอนอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกไปต่างๆ นั้น ล้วนแต่
ยักเยื้องแบบวิธี ไปจากกลอนสุภาพ ซึ่งเป็นกลอนหลัก ทั้งสิ้น

 กลอนลำนำ คือกลอนที่ใช้ขับร้อง หรือสวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ
       ๑. กลอนบทละคร
       ๒. กลอนสักวา
       ๓. กลอนเสภา
       ๔. กลอนดอกสร้อย
       ๕. กลอนขับร้อง


   กลอนตลาด คือกลอนผสม หรือกลอนคละ ไม่กำหนดคำตายตัว เหมือนกลอนสุภาพ ในกลอนบทหนึ่ง อาจมีวรรคละ ๗ คำบ้าง ๘ คำบ้าง ๙ คำบ้าง คือเอากลอนสุภาพ หลายชนิด มาผสมกัน นั่นเอง เป็นกลอนที่ นิยมใช้ ในการขับร้องแก้กัน ทั่วๆ ไป จึงเรียกว่า กลอนตลาด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ 
๑. กลอนเพลงยาว
๒. กลอนนิราศ
๓. กลอนนิยาย
๔. กลอนเพลงปฏิพากย์
กลอนเพลงปฏิพากย์ ยังแบ่งออกไปอีกหลายชนิด คือ 
     เพลงฉ่อย 
     เพลงโคราช หรือเพลงตะวันออก 
     เพลงเรือ 
     เพลงชาวไร่ 
     เพลงชาวนา 
     เพลงแห่นาค 
     เพลงพิษฐาน (อธิษฐาน) 
     เพลงเกี่ยวข้าว 
     เพลงปรบไก่ 
     เพลงพวงมาลัย 
     เพลงรำอีแซว หรือเพลงอีแซว 
     เพลงลิเก 
     เพลงลำตัด 
     ฯลฯ

บทของกลอน     คำกลอนวรรคหนึ่ง เรียกว่า กลอนหนึ่ง สองวรรค หรือสองกลอน เรียกว่า บาทหนึ่ง หรือคำหนึ่ง สองคำ หรือสองบาท หรือสี่วรรค หรือสี่กลอน เรียกว่า บทหนี่ง วรรคทั้งสี่ ของกลอน ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กัน และนิยมใช้เสียงต่างๆ กันอีก คือ 
    ๑. กลอนสลับ ได้แก่ กลอนวรรคต้น คำสุดท้าย ใช้คำเต้น คือนอกจากเสียงสามัญ แต่ถ้าจะใช้ ก็ไม่ห้าม 
    ๒. กลอนรับ ได้แก่ กลอนวรรคที่สอง คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงโท, สามัญ, ตรี, และวรรณยุกต์เอกมีรูป วรรณยุกต์เอกไม่มีรูป ไม่ห้าม แต่ต้องให้คำสุดท้าย ของกลอนรอง เป็นเสียงตรี 
    ๓. กลอนรอง ได้แก่ กลอนวรรคที่สาม คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์ 
    ๔. กลอนส่ง ได้แก่ กลอนวรรคที่สี่ คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรี บ้างก็ได้ 


บาทของกลอน
     คำกลอนนั้น นับ ๒ วรรคเป็น ๑ บาท ตามธรรมดา กลอนบทหนึ่ง จะต้องมีอย่างน้อย ๒ บาท (เว้นไว้แต่กลอนเพลงยาว หรือกลอนนิราศ ซึ่งนิยมใช้บทแรก ที่ขึ้นต้นเรื่อง เพียง ๓ วรรค) บาทแรก เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท คำกลอนจะยาวเท่าไรก็ตาม คงเรียกชื่อว่า บาทเอก บาทโท สลับกันไปจนจบ และต้องจบลง ด้วยบาทโทเสมอ เช่น 
      นิราศเรื่องหัวหินก็สิ้นสุด  เพราะจากบุตรภรรยามากำสรวล (บาทเอก)
 เมื่ออยู่เดียวเปลี่ยวกายใจคร่ำครวญ  ก็ชักชวนให้คิดประดิษฐ์กลอน (บาทโท)
 ใช้ชำนาญการกวีเช่นศรีปราชญ์  เขียนนิราศก็เพราะรักเชิงอักษร (บาทเอก)
 บันทึกเรื่องที่เห็นเป็นตอนตอน  ให้สมรมิตรอ่านเป็นขวัญตา (บาทโท)
 มิใช่สารคดีมีประโยชน์  จึงมีโอดมีครวญรัญจวนหา (บาทเอก)
 ตามแบบแผนบรรพกาลโบราณมา  เป็นสาราเรื่องพรากจากอนงค์ (บาทโท)

                                                                               -จากนิราศหัวหิน-
หลักนิยมทั่วไปของกลอน
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๒ ก็ดี คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และวรรคที่ ๔ ก็ดี ไม่ควรใช้คำ ที่มีเสียงเหมือนกัน หรือคำที่ใช้สระ และตัวสะกด ในมาตราเดียวกัน เช่น 
     ก. ในไพรสณฑ์พรั่งพรึบด้วยพฤกษา  แนววนาน่ารักด้วยปักษา
     ข. เขาเดินทุ่งมุ่งลัดตัดมรรคา  มั่นหมายมาเพื่อยับยั้งเคหา
     ค. เห็นนกน้อยแนบคู่คิดถึงน้อง  มันจับจ้องมองตรงส่งเสียงร้อง
๒. คำที่รับสัมผัส ในวรรคที่ ๒ และที่ ๔ ควรให้ตำแหน่งสัมผัส ตกอยู่ที่พยางค์สุดท้าย ของคำ ไม่ควรให้สัมผัสลงที่ต้นคำ หรือกลางคำ ยิ่งเป็นกลอนขับร้อง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้เสียความ ในเวลาขับร้อง เช่น 
                             สดับถ้อยสุนทรนอนดำริ จนสุริยาแจ้งแจ่มเวหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น